สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
http://www.oocities.org/ssokanchanaburi
แนะนำสำนักงาน
กองทุนประกันสังคม
กรณีว่างงาน
กองทุนประกันสังคม
เจ็บป่วย
คลอดบุตร
ทุพพลภาพ
ตาย
สงเคราะห์บุตร
ชราภาพ
กองทุนเงินทดแทน
ข้อมูลสำหรับนายจ้าง

การประกันสังคมกรณีว่างงาน
คือการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกันตนที่ว่างงาน (ยกเว้น ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39) โดยเริ่มจัดเก็บเงินสมทบตั้งแต่เดือน มกราคม 2547 และผู้ประกันตนจะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบและให้ประโยชน์ทดแทน ดังนี้
เงินสมทบกรณีว่างงาน
จัดเก็บจากผู้ประกันตนและนายจ้าง ร้อยละ 0.5 จากรัฐบาล ร้อยละ 0.25 ของค่าจ้าง

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน จะมีสิทธิรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานเมื่อได้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ขึ้นทะบียนหางานที่สำนักจัดหางานของรัฐ
2. มีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
3. ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
4. รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานของรัฐ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
5. ไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี
- ทุจริตต่อหน้าที่
- กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

6. มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
7. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงาน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนนับตั้งแต่วันที่ขึ้นทะเบียน

ประโยชน์ทดแทน
ผู้ประกันตนที่ว่างงานจะได้รับความช่วยเหลือ
ดังนี้
- การบริการจัดหางาน และการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
- เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้
1. ถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
2. ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเพราะเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน สำหรับการยื่นคำขอเพราะเหตุลาออกเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทินให้ได้รับเงินทดแทนทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

สำนักงานประกันสังคม
จะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
เมื่อ
1. กลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ
2. ปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้
3. ไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด

เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนหางานและขอรับประโยชน์ทดแทน
กรณีว่างงาน

1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) หรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อผู้ประกันตนและเลขที่บัญชี

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
1. ขึ้นทะเบียนหางานพร้อมกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่สำนักจัดหางานของรัฐ
2. เจ้าหน้าที่ของสำนักจัดหางานจะให้บริการจัดหางานและรับแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน
- หากมีตำแหน่งงานที่เหมาะสม จะประสานกับนายจ้างและออกหนังสือส่งตัว เพื่อให้ไปติดต่อกับนายจ้าง
- หากไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสม จะนัดรายงานตัวครั้งต่อไป หรือพิจารณาส่งฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามความจำเป็น
3. ผู้ประกันตนกรณีว่างงานรายงานตัว ณ สำนักจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4. สำนักงานประกันสังคม พิจารณาเอกสารและข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวินิจฉัยสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานทราบ
5. กรณีมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้เดือนละ 1 ครั้ง

งานในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ
สำนักงานประกันสังคม
1. จัดเก็บเงินสมทบและบันทึกข้อมูลเงินสมทบ
2. ตรวจสอบประวัติการส่งเงินสมทบ
3. ตรวจสอบสิทธิและคุณสมบัติ ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
4. พิจารณาสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน
กรมการจัดหางาน
1. ขึ้นทะเบียนหางานเพื่อให้บริการจัดหางาน
2. ดำเนินการสัมภาษณ์ แนะแนว และจัดหางานให้ตรงกับคุณสมบัติ
3. รับการรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
4. ประสานงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรณีที่จำเป็นต้องฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
5. จัดหาตำแหน่งงานให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ผ่านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
6. บริการจัดหางานแก่ผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่พ้นสิทธิการรับเงินทดแทนในระหว่างว่างงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
1. พิจารณาผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามเงื่อนไขและคุณสมบัติ
2. พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
3. ฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือส่งผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานจากภาคเอกชน
4. ประเมิน ติดตามผลการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

ข้อมูลสำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน
ประกันตนเอง (มาตรา 39)
ลิงค์
หน้าแรก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมการจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม

ขึ้นข้างบน

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
2/1 หมู่ 12 ถนนแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทร. 0-3456-4037โทรสาร 0-3456-4038